1. นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ
การอดนอนจะทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายแปรปรวน ทั้งลิ้นรับรส รสชาติน้ำลาย
หรือการไหลเวียนของน้ำในร่างกายจะเปลี่ยนไป คนที่อดนอน หรือนอนไม่พอ
จึงรู้สึกคอแห้ง และปากขมได้
เนื่องจากระบบประสาทไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอนั่นเอง
2. มีปัญหาสุขภาพในช่องปาก
ส่วนใหญ่แล้ว อาการปากขมมักเกิดจากการแปรงฟันที่ไม่สะอาด
ทำให้เชื้อแบคทีเรีย คราบพลัค
และคราบอาหารที่ยังติดอยู่บนผิวฟันเกิดการหมักหมม
ซึ่งอาจก่อให้เกิดการอักเสบในช่องปาก รู้สึกขมในลำคอ ลมหายใจไม่สะอาด
และมีกลิ่นปากได้
3. ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
ยาบางชนิดที่ขมมาก ๆ เช่น ยาโรคหัวใจ ยาทางจิตเวช ยาต้านซึมเศร้า
ยาปฏิชีวนะ หรือแม้แต่อาหารเสริมบางชนิด
ก็อาจทำให้รสขมติดปากติดคออยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งรวมถึงยาหยอดตาหยอดจมูกด้วย
เนื่องจากท่อน้ำตานั้นเชื่อมต่อลงไปถึงโพรงจมูก
4. รสขมจากบุหรี่
สารนิโคติน รวมถึงสารเคมีประเภทกาว เบนซิน และปิโตเลียมต่าง ๆ ภายในบุหรี่ เมื่อสูดดมเข้าไปในปอดมาก ๆ จะเป็นพิษต่อปอด และทำให้มีอาการปากขม ขมในคอ คอแห้งบ่อย ซึ่งเป็นอาการแสดงของโรค
5. เป็นหวัด ติดเชื้อทางเดินหายใจ
การ เป็นหวัด มีไข้ รวมถึงอาการภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ สามารถส่งผลต่อระบบประสาทการรับรสได้เช่นกัน ผู้ป่วยที่เป็น ไข้หวัด จึงมักมีอาการปากจืด หรือรู้สึกปากขม คอขม
6. กรดไหลย้อน
กรดไหลย้อน
คือ ผู้ต้องสงสัยอันดับหนึ่ง หากคุณรู้สึกว่าน้ำลายขม ขมในปากและลำคอ
โดยเฉพาะช่วงหลังมื้ออาหาร เพราะรสขมในน้ำลาย
อาจเกิดจากน้ำดีที่ไหลย้อนขึ้นมาทางหลอดอาหาร
ซึ่งถือเป็นอาการของโรคกรดไหลย้อนค่อนข้างชัดเจน
ทั้งนี้ อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ เช่น ปวดแสบร้อนกลางอก เจ็บหน้าอก
จุกเสียดแน่น เรอบ่อย คลื่นไส้หลังทานอาหาร กลืนอาหารลำบาก ระคายเคืองคอ เจ็บคอ เป็นต้น
7. ตั้งครรภ์
เมื่อผู้หญิงอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนในร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไป
ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะสูงขึ้น ส่งผลให้การรับรส รับกลิ่น
และความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไปหมด รู้สึก ขมปาก ขมคอ ไม่อยากทานอาหาร
และบางครั้งก็อาจมีอาการจมูกไวผิดปกติ
ทำให้ได้กลิ่นอะไรก็เหม็นไปหมดทุกอย่างด้วย
ข้อมูลจาก gedgoodlife
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น